กิจกรรมของฉัน

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

บทความ : ลืมนมไขมันต่ำ หันมาดื่มนมไขมันสูงจากวัวกินหญ้า

          
           นักวิจัยสหรัฐ เปิดเผยว่า นมวัวให้ประโยชน์มากกว่าที่คิด นมจากวัวกินหญ้ามีประโยชน์มากกว่านมจากวัวเลี้ยงในฟาร์มทั่วไปเนื่องจากมีไขมันช่วยให้หัวใจแข็งแรง
           การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าน้ำนมวัวที่กินแต่หญ้าสดมีไขมันไม่อิ่มตัวปริมาณสูงกว่านมที่เลี้ยงด้วยธัญพืชประมาณ 5 เท่า
คนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่าไขมันนั้นเป็นโทษกับร่างกาย และไม่มีประโยชน์ ในทางโภชนาการไขมันถูกมองว่าเป็นผู้ร้าย โดยเฉพาะเป็นสาเหตุของความอ้วน และโรคหลายโรค  แท้จริงแล้วไขมันมีทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และก็มีไขมันบางชนิดเป็นโทษต่อร่างกาย  ซึ่งไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อนั้นร่างกายคนเราไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้เป็นไขมันมีประโยชน์ ชนิดไม่อิ่มตัว มีชื่อว่า conjugated linoleic acid (CLA) โดยพบว่า CLA มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหัวใจและช่วยลดน้ำหนักตัวได้
Hannia Campos จากวิทยาลัยสุขภาพสังคมฮาร์วาร์ด (Harvard School of Public Health) ในบอสตัน และคณะ พบว่า ผู้ที่มีปริมาณ CLA สูงจากอาสาสมัคร 4000 คน คือมีระดับ CLA สูงติดหนึ่งในห้าของอาสาสมัครทั้งหมด มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่มีระดับ CLA ต่ำประมาณ 36% การสำรวจนี้เป็นจริง เมื่อมีการนำปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจมาร่วมพิจารณาด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการสูบบุหรี่
             Campos กล่าวว่า การศึกษาล่าสุดนี้ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition แสดงให้เห็นว่า CLAมีส่วนช่วยดูแลสุขภาพหัวใจมากกว่าไขมันอิ่มตัวอันตรายที่พบในนมทั่วไป การเลี้ยงวัวด้วยหญ้าสดทำให้น้ำนมวัวที่ได้มีระดับ CLA สูง นอกจากนั้นหญ้ายังถือว่าเป็นอาหารตามธรรมชาติของวัว จึงควรมีการให้ความสำคัญกับการเลี้ยงวัวด้วยอาหารตามธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากนมวัวส่วนใหญ่ที่คนอเมริกันบริโภคล้วนเป็นนมวัวจากฟาร์มเลี้ยง นมวัวจัดว่าเป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วย CLA ส่วนเนื้อวัวมีปริมาณ CLA น้อยมาก
             สำหรับการทดลองนี้ สถานที่ที่ Campos และคณะให้ความสนใจศึกษาคือที่ คอสตาริกา ซึ่งเป็นที่ที่ยังคงมีการเลี้ยงวัวนมโดยให้กินหญ้าแบบดั้งเดิม
            ทีมวิจัยทำการวัดระดับ CLA ในเนื้อเยื่อไขมันของชาวคอสตาริกาเกือบ 2000 คน ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจ และอีก 2000 คนที่ไม่พบโรคนี้ เพื่อตรวจดูปริมาณการบริโภคนมของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม CLA ในนมมักไม่ได้มาในรูปเดี่ยว มักปะปนมากับไขมันชนิดอื่นซึ่งส่วนใหญ่แล้วก่อให้เกิดโทษกับร่างกาย ทำให้ทีมวิจัยต้องแยกผลของไขมันอันตรายเหล่านี้ออกไป พบว่าความแตกต่างในการก่อให้เกิดโรคหัวใจระหว่างผู้ดื่มนมกับไม่ดื่มนมนั้นมีถึง 49%
              Michelle McGuire โฆษกวารสาร American Society for Nutrition กล่าวว่า เมื่อคิดถึงนมมีไขมันและผลิตภัณฑ์จากนมมีไขมัน ทุกคนล้วนคิดถึงแต่ไขมันอิ่มตัวและคลอเรสเตอรอลในอาหารเท่านั้น ขณะนี้เราพบแล้วว่า CLA อาจมีคุณประโยชน์ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงได้...ถึงเวลาแล้วสินะที่จะเลิกบอกว่า นมมีไขมันไร้ประโยชน์


วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทความ : ถอดรหัสยีนรสหวาน ในองุ่นทำไวน์

ถอดรหัสยีนรสหวาน ในองุ่นทำไวน์


นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสและอิตาลีได้ถอดรหัสพันธุกรรมต้นองุ่นที่ใช้ทำไวน์อย่างสมบูรณ์แบบแล้วครับ งานนี้แม้จะไม่ได้ช่วยเปิดเผยความลับของการผลิตไวน์องุ่นมากเท่าใดนักแต่ก็เป็นการปูทางการดัดแปลงยีนต้นไวน์องุ่นเพื่อให้ได้รสชาติดีและต้านทานโรค
           นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากได้ศึกษาองุ่นที่ชื่อว่า Pinot noir อ่านว่า พี-โน-วา นะครับเป็นภาษาฝรั่งเศสมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vitis vinifera เป็นพันธุ์ที่นิยมนำมาทำไวน์องุ่นหรืออาจเรียกว่าองุ่นแชมเปญครับ พบว่ามียีนเป็นจำนวนมากกว่าพืชชนิดอื่นถึงสองเท่า ส่งผลให้มันมีกลิ่นหอมกว่าชาวบ้านครับ บางทีการศึกษาในระดับจีโนมนี้อาจช่วยทำนายรสชาติของพืชได้ กลุ่มสหภาพแห่งฝรั่งเศส-อิตาเลียนเพื่อศึกษาจีโนมองุ่น เจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้ยังให้ความสนใจในเรื่องวิวัฒนาการทางพันธุกรรมพืชเมื่อ 200 ปีที่แล้วด้วยครับ
ในบรรดากลุ่มพืชมีดอก ความสำเร็จของการถอดรหัสพันธุกรรมของ Vitis vinifera นี้นับว่าเป็นครั้งที่ 4 แล้วครับแต่หากคิดในแง่ของพืชเก็บเกี่ยวจะเป็นความสำเร็จครั้งแรกครับ พืชอีก 3 ชนิดคือ ข้าว , poplar และ Thale Cress ซึ่งเป็นพืชป่าใกล้ชิดกับพวกกะหล่ำปลีและมัสตาร์ด Pinot Noir เป็นพันธุ์องุ่นที่นิยมมาทำไวน์แดงแถบตอนเหนือฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นพันธุ์องุ่นลูกผสมจากเชื้อสายที่ใกล้ชิดกันทำให้สามารถถอดรหัสพันธุกรรมได้ง่าย งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ลงในวารสาร The British journal Nature ครับโดยคาดว่าบรรดาชาวสวนองุ่นและบริษัทผู้ปลูกไวน์จะให้ความสนใจเป็นจำนวนมากแน่ๆ เพราะนอกจากจะกำจัดโรคปัญหาองุ่นแพงได้แล้วยังเพิ่มรสชาติให้น่าลิ้มลองอีกต่างหากจนไม่น่าแปลกใจเลยว่าสามารถกวาดรายได้ถึง 200 พันล้านดอลลาร์หรือ 150 ยูโรในแต่ละปี Anne-Francoise Adam-Blondon หนึ่งในผู้วิจัยได้กล่าวไว้ว่า การที่พวกเค้าใช้องุ่นพันธุ์นี้เป็นตัวทดลองถือเป็นกลยุทธ์ทางการค้าอย่างหนึ่งและยังเป็นการพัฒนาพันธุกรรมไปด้วยในคราเดียวกันช่วยให้องุ่นต้านทานโรคดีขึ้นและเพิ่มคุณภาพ กลุ่มนักวิจัยได้ค้นพบยีนกลุ่มใหญ่ซึ่งควบคุมลักษณะกลิ่นหอมเฉพาะตัว โดยคาดว่าน่าจะเป็นสารกลุ่มแทนนินหรือเทอร์ปีน แทนนินเป็นสารห้ามเลือดพบในเปลือกและเมล็ดครับโดยเฉพาะในองุ่นแดงนั้นมีมาก ช่วยให้ดูอ่อนวัย รักษารสชาติไวน์ให้กลมกล่อม นอกจากนั้นยังคาดว่ามีส่วนช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง เทอร์ปีนเป็นสารที่พบมากในน้ำมันจากต้นพืชและดอกไม้ทั่วไปครับ มักใช้เป็นสารปรุงแต่งและน้ำหอมจากธรรมชาติ
งานชิ้นนี้ยังได้พิสูจน์ที่มาทางพันธุกรรมของสาร resveratrol ซึ่งผลิตจากพืชตามธรรมชาติเมื่อมีแบคทีเรียหรือไวรัสเข้ามาครับ สารตัวนี้พบมากในองุ่นแดงเช่นเดียวกัน มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการแก่ชรา บำรุงสุขภาพและช่วยต้านไวรัสครับ
           คงจะมีข้อโต้เถียงระหว่างนักผลิตไวน์ที่หวังแต่ไวน์รสเลิศกับนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังดัดแปลงโมเลกุลองุ่นอยู่เป็นแน่ครับ แต่ที่นักผลิตไวน์เค้าไม่ส่ายหัวก็เพราะนักวิทยาศาสตร์เค้าได้สร้างองุ่นสายพันธุ์ทนโรคควบคู่ไปด้วย ทำให้ประหยัดเงินถึงหลายสิบล้านดอลลาร์เชียวครับ งานนี้เศรษฐีไหน ๆ ก็ต้องยอมลงทุนใช่มั้ยล่ะครับ Adam-Blondon กล่าวว่าขณะนี้งานวิจัยกำลังดำเนินอยู่ เพื่อแยกยีนที่สามารถต้านทานเชื้อรา โอไอเดียมออกมาซึ่งพบมากในองุ่นพันธุ์นี้ งานนี้ยังทำให้ชาวสวนองุ่นลดการใช้สารเคมีไปด้วยครับ สำหรับในฝรั่งเศสนั้นมีการเก็บเกี่ยวองุ่นแบบธรรมชาติคิดเป็น 3 % แต่ที่ใช้ยาฆ่าแมลงมีถึง 20 % เชียวครับ  ตอนนี้บ้านเราก็กำลังต่อต้านพืช GMOs อยู่พอดี เรื่องนี้คงต้องติดตามกันต่อไปล่ะครับ ระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภคของทางนั้นล่ะครับ แต่พืชที่ปลูกด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานี่ล่ะครับ ดีที่สุดในโลกแล้วล่ะครับ